คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของจังหวะไจว์ฟ

ไจว์ฟเป็นจังหวะหนึ่งในการเต้นลีลาศ ซึ่งเป็นการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรี



การเต้นลีลาศมีสองลักษณะคือ เพื่อสังสรรค์สนุกสนานในงานสังคม (Social Dance) และเป็นกีฬาเต็มรูปแบบ (Sport Dance) ที่ต้องฝึกซ้อมเข้มข้นเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกก็บรรจุกีฬาลีลาศเข้าไว้ด้วยเช่นกัน


ประเภทของจังหวะลีลาศ ได้แก่ 

1. ประเภทโมเดิร์นหรือบอลรูม (MODERN OR BALLROOM)
การลีลาศแบบนี้จะมีลักษณะการเต้น และท่วงทำนองดนตรีที่เต็มไปด้วยความสุภาพ นุ่มนวล อ่อนหวาน สง่างามและเฉียบขาด ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรง ผึ่งผาย ขณะก้าวเท้านิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้น จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี 5 จังหวะ คือ
  • วอลซ์ (WALTZ)
  • แทงโก้ (TANGO)
  • เวียนนิสวอลซ์ (VIENNESE WALTZ)
  • สโลว์ ฟอกซ์ทรอท ( SLOW FOXTROT)
  •  ควิ๊กสเต็ป (QUICKSTEP)
2. ประเภทละตินอเมริกัน  (LATIN AMERICAN)

การลีลาศแบบนี้จะมีลักษณะการเต้นที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียวกว่าประเภทบอลรูม ส่วนใหญ่จะใช้สะโพก เอว เข่าและข้อเท้าเป็นสำคัญ ท่วงทำนองดนตรีและจังหวะจะเร้าใจและสนุกสนานร่าเริง จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี
5 จังหวะ คือ


  • แซมบ้า (SAMBA)
  •  ช่า ช่า ช่า (CHA CHA CHA)
  • รุมบ้า (RUMBA)
  •  พาโซโดเบล์ (PASO DOBLE)
  • ไจว์ฟ (JIVE)

นอกจากนี้ สำหรับการลีลาศในประเทศไทยนั้นยังมีการเต้นรำที่จัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (POP OR SOCIAL DANCE) อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งจังหวะที่นิยมลีลาศกันได้แก่ จังหวะบีกิน อเมริกันรัมบ้า กัวราช่า ออฟบีพ ตะลุงเทมโป้ และรอค แอนด์ โรล เป็นต้น

ประวัติของจังหวะไจว์ฟ





ไจว์ฟ เป็นจังหวะหนึ่งในกีฬาลีลาศ เป็นการเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งพัฒนามาจากหลายๆจังหวะรวมกัน ได้แก่  Rock 'n' Roll , Bogie และ African / American Swing เน้นที่การดีด สะบัด เตะปลายเท้า


 ต้นกำเนิดของ ไจว์ฟมาจาก New York, Halem ใน ค.ศ.1940 ไจว์ฟได้ถูกพัฒนาไปสู่จังหวะ จิตเตอร์บัคจ์ (Jitterbug) และจากนั้น Ms.Jos Bradly และ Mr.Alex Moore ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว เข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล


รูปแบบของจังหวะไจว์ฟ


  • จังหวะ "ไจว์ฟ" คู่เต้นรำควรแสดง การใช้จังหวะ (Rhythm) ซึ่งเป็นความต้องการของผู้ชม "จังหวะและก็จังหวะ" ผสมผสานกับความสนุกสนานและการใช้พลังอย่างสูง การเน้นจังหวะล้วนอยู่ที่ขาทั้งคู่ ที่แสดงให้เห็นถึงการเตะและการดีดสบัดปลายเท้า
  • คู่เต้นรำต่างเอาใจใส่กับการเคลื่อนที่ไปรอบๆ เต้นเข้าและเต้นออกรอบจุดศูนย์กลางที่เคลื่อนไหวอยู่ การเต้นลักษณะนี้มือต้องจับ (Hold) กันไว้




  • การออกแบบท่าเต้น ควรสมดุลย์ร่วมกับลีลาที่ผสมผสานกลมกลืนของการเต้นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการแสดงเดี่ยวที่ต้องทำให้เกิดผลสะท้อนกลับของผู้ชม การเต้นจังหวะนี้ หากมีปฏิกิริยาตอบรับจากผู้ชม จะมีผลทำให้คู่เต้นรำมีกำลังใจยิ่งขึ้น

ดนตรีและการนับจังหวะ
ดนตรีของจังหวะไจฟว์เป็นแบบ 4/4 คือ มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง ดนตรีจะมีเสียงเน้นหนักใน จังหวะที่ 2 และ 4 ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม ดังอยู่ตลอดเพลง
การเต้นไจฟว์ในแบบ TRIPLE RHYTHM มี 8 ก้าว การนับจังหวะจะเป็นแบบ 1,2,3-4-5,6-7-8 หรือ 1,2,3 และ 4,3 และ 4 หรือ เร็ว, เร็ว, เร็วและเร็ว, เร็วและเร็ว ก็ได้ โดยที่ก้าวที่ 1,2 และ 4 มีค่าเท่ากับก้าวละ 1 จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ 3/4 จังหวะส่วนก้าวที่เรียก และ มีค่าเท่ากับ 1/4 จังหวะ
ดนตรีของจังหวะไจฟว์บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 40 ห้องเพลงต่อนาที (3050 ห้องเพลงต่อนาที)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น